เมนู

2. บุคคล ผู้เป็นปัญญาวิมุต เป็นไฉน ?
3. บุคคล ผู้เป็นกายสักขี เป็นไฉน ?
4. บุคคล ผู้เป็นทิฏฐิปัตตะ เป็นไฉน ?
5. บุคคล ผู้เป็นสัทธาวิมุต เป็นไฉน ?
6. บุคคล ผู้เป็นธัมมานุสารี เป็นไฉน ?
7. บุคคล ผู้เป็นสัทธานุสารี เป็นไฉน ?

สัทธินทรีย์ของบุคคลใด ผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผลมี
ประมาณยิ่ง อบรมอริยมรรคมีศรัทธาเป็นตัวนำ มีศรัทธาเป็นประธาน บุคคล
นี้เรียกว่า ผู้เป็นสัทธานุสารี. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้วซึ่งโสดาปัตติผล
ชื่อว่า สัทธานุสารี ผู้ตั้งอยู่แล้วในผล ชื่อว่า สัทธาวิมุต ด้วยประการ
ดังนี้แล.
จบบุคคล 7 จำพวก

อรรถกถาสัตตกนิทเทส


อธิบายบุคคล 7 จำพวก


ข้อว่า "สกึ นิมุคฺโค" ความว่า บุคคลบางคน จมลงแล้วสิ้นวาระ
หนึ่ง. บทว่า "เอกนฺตกาฬเกหิ" ได้แก่ ด้วยธรรม คือ นิยตมิจฉาทิฏฐิ
ทั้งหลาย คือ นัตถิกวาทะและอกิริยวาทะ อันดำอย่างเดียวเท่านั้น. ข้อว่า "เอวํ
ปุคฺคโล"
ความว่า บุคคลจมลงสิ้นวาระหนึ่งด้วยเหตุนี้ คือ ด้วยนิยตมิจฉา-
ทิฏฐินี้ แล้วก็จมอยู่อย่างนั้น นั่นแหละ. อาจารย์บางพวกกล่าวว่า "ก็ชื่อว่า
การออกจากภพของนิยตมิจฉาทิฏฐินั้น ย่อมไม่มี" เชื้อไฟ คือ สัตว์นรกทั้ง
หลาย มีอยู่ในภายใต้นั่นแหละ เหมือนศาสดาทั้งหลายมีมักขลิโคศาล เป็นต้น.
ข้อว่า "สาหุ สทฺธา กุสเลสุ ธมฺเมสุ" ความว่า ย่อมโผล่ขึ้นในกุศลธรรม

ทั้งหลาย ด้วยการคิดว่า "ชื่อว่าศรัทธา เป็นลัทธิที่ดี" บุคคลนั้น ชื่อว่า
ย่อมโผล่ขึ้นด้วยกุศลธรรมมีประมาณเท่านั้น นั่นแหละ. แม้ในคำว่า "สาธุ
หิริ"
แปลว่า ความละอายเป็นลัทธิที่ดีเป็นต้น ก็มีนัยนี้เหมือนกัน. บทว่า
"หายติเมว" ความว่า ผู้นั้นย่อมเสื่อมอย่างเดียวเท่านั้น เหมือนน้ำที่เทลงใน
เปือกตม. ข้อว่า "เอวํ ปุคฺคโล" ความว่า ก็นิยตมิจฉาทิฏฐิบุคคลนั้น
โผล่ขึ้นสิ้นวาระหนึ่งด้วยสามารถแห่งศรัทธาเป็นต้นเหล่านี้ว่า "เอวํ สาหุ
สทฺธา"
แปลว่า ศรัทธาเป็นความดีอย่างนี้ดังนี้ และก็จมลงเพราะความเสื่อม
จากธรรมมีศรัทธาเป็นต้นนั้น นั่นแหละ เหมือนพระเทวทัต เป็นต้น.
ความย่อว่า พระเทวทัตแม้ทำสมาบัติ 8 และอภิญญา 5 ให้เกิดแล้ว
ก็เสื่อมจากคุณวิเศษเหล่านั้น เพราะความเป็นปฏิปักษ์ต่อพระพุทธเจ้าอีก จึง
กระทำโลหิตุปบาทกรรม และสังฆเภทกรรมครั้นกายแตกทำลาย จึงเกิดใน
นรกด้วยวาระจิตที่ 2. พระโกกาลิกะใส่โทษพระอัครสาวกทั้งสองจึงบังเกิดใน
ปทุมนรก.
ข้อว่า "เนว หายติ โน วฑฺฒติ" ความว่า ในเวลาที่ไม่เสื่อมก็
ดี ในเวลาที่เสื่อมก็ดี ศรัทธาก็ไม่ลด และไม่เจริญ. ก็เหตุทั้งสองนั้น บัณฑิต
พึงแสดงด้วยอคาริกบุคคล คือ คฤหัสถ์ และอนาคาริกบุคคล คือ บรรพชิต
แม้ทั้งสองเป็นอุทาหรณ์. ก็คฤหัสถ์บางคน ในเวลาที่คนไม่เสื่อมจากศรัทธา
จึงให้จัดแจงปักขิกภัต หรือสลากภัตหรือผ้าอาบน้ำฝน. คฤหัสถ์นั้น ในกาลที่
เสื่อมจากศรัทธา ในภายหลัง ย่อมยังสักว่าปักขิกภัตเป็นต้นให้เป็นไป ศรัทธา
ก็ไม่เจริญ. ฝ่ายบรรพชิต ในเวลาที่ไม่เสื่อม ในเบื้องต้น ย่อมเรียนเอาอุทเทส
หรือธุดงค์ แม้เวลาที่เสื่อมจากการถึงพร้อมด้วยปัญญา พละและวิริยะ ก็กระทำ
ให้ยิ่งกว่านั้นไม่ได้. ข้อว่า "เอวํ ปุคฺคโล" ความว่า บุคคลอย่างนี้ ชื่อว่า
โผล่ขึ้นแล้วหยุดอยู่ เพราะความตั้งอยู่แห่งธรรมทั้งหลาย มีศรัทธาเป็นต้นนี้.

ข้อว่า "อุมฺมุชฺชิตวา วิปสฺสติ วิโลเกติ" ความว่า พระโสดาบัน
ชื่อว่า ย่อมแลดูมรรคอันเป็นที่ไปในเบื้องบน หรือทิศที่ควรจะไปเพราะการ
โผล่ขึ้นจากห้วงน้ำ คือ วัฏฏะ. ข้อว่า "อุมฺมุชฺชิตฺวา ปตรติ" ความว่า
พระสกทาคามีบุคคล โผล่ขึ้นจากห้วงน้ำ คือ วัฏฏะแล้ว เป็นผู้มุ่งต่อทิศที่จะ
พึงไป เพราะความที่ตนมีกิเลสเบาบาง จึงชื่อว่า ย่อมข้ามไปได้. ข้อว่า
"ปติคาธิปฺปตฺโต โหติ" ความว่า พระอนาคามีบุคคลโผล่ขึ้นจากห้วงน้ำ คือ
วัฏฏะแล้ว เหลียวดูทิศที่จะไป แล้วก็ข้ามไปถึงที่แห่งหนึ่งอันเป็นที่พึ่ง จึงพักอยู่
ย่อมไม่กลับมาอีก. ข้อว่า "ติณฺโณ ปารงฺคโต ถเล ติฏฺฐติ" ความว่า พระ-
ขีณาสพ ท่านข้ามห้วงน้ำ คือกิเลสทั้งหมดแล้ว ถึงฝั่งโน้นแล้ว ย่อมเป็นผู้ชื่อ
ว่ายืนอยู่บนบก คือ พระนิพพาน.
ก็บุคคล 7 จำพวกนี้ ท่านแสดงการอุปมาไว้ด้วยห้วงน้ำเป็นอุทาหรณ์
ดังนี้
ได้ยินว่า นายชังฆพาณิช คือ พ่อค้าเร่ 7 คน เดินทางไกลถึงแม่น้ำ
เต็มฝั่งในระหว่างหนทาง บรรดาพ่อค้าเหล่านั้น พ่อค้าคนที่ 1 เป็นผู้กลัวน้ำหยั่ง
ลงก่อนแล้วก็ดำลงจากทำเป็นที่ข้ามนั่นแหละไม่สามารถที่จะโผล่ขึ้นอีก เขาจึง
ตกเป็นภักษาหารของปลาและเต่าในแม่น้ำนั้นนั่นหละ. พ่อค้าคนที่ 2 ดำลง
แล้ว ณ ที่เป็นที่ข้าม โผล่ขึ้นมาครั้งหนึ่งแล้วก็จมลงอีกไม่อาจเพื่อจะโผล่ขึ้นได้
เขาจึงเป็นภักษาหารของปลาและเต่าในแม่น้ำนั้นเหมือนกัน. พ่อค้าคนที่ 3
ดำลงแล้ว โผล่ขึ้นแล้ว หยุดอยู่ในท่ามกลางแม่น้ำ ไม่อาจเพื่อจะไปฝั่งโน้น
ไม่อาจจะมาฝั่งนี้. พ่อค้าคนที่ 4 ดำลงแล้ว โผล่ขึ้นแล้ว หยุดอยู่แลดูท่าเป็น
ที่ข้ามไป. พ่อค้าคนที่ 5 ดำลงแล้ว โผล่ขึ้นแล้ว หยุดแลดูท่าเป็นที่ข้ามแล้ว
จึงข้ามไป. พ่อค้าคนที่ 6 ดำลงแล้วโผล่ขึ้นแล้ว ข้ามไปแล้วถึงฝั่งโน้นแล้ว
จึงหยุดอยู่ในที่น้ำแค่สะเอว. พ่อค้าคนที่ 7 ดำลงแล้ว ฯลฯ ถึงฝั่งโน้นแล้ว

อาบน้ำชำระตัวด้วยจุณหอมเป็นต้น นุ่งห่มผ้าอันประเสริฐ ลูบไล้ด้วยของหอม
ประดับดอกอุบลเขียวเป็นต้น แล้วประดับด้วยเครื่องอลังการนานาชนิด แล้ว
จึงเข้าไปสู่มหานคร ก้าวขึ้นสู่ปราสาทบริโภคโภชนะอันอุดม.
ในข้อนั้น บัณฑิตพึงทราบคำอุปมาดังนี้ คือ บุคคล 7 จำพวกเหล่า
นี้เปรียบเหมือนพ่อค้าเร่ 7 คนนั้น วัฏฏะ เปรียบเหมือน แม่น้ำ, การจม
ลงในวัฏฏะของนิยตมิจฉาทิฏฐิ บัณฑิตพึงทราบว่าเหมือนกับการจมลงในท่า
เป็นที่ข้ามของพ่อค้าผู้กลัวน้ำคนที่ 1 บุคคลผู้โผล่ขึ้นด้วยเหตุสักว่าการเกิดขึ้น
แห่งศรัทธาเป็นต้นแล้วจมลง เพราะความเสื่อมศรัทธาเป็นต้นนั้น เหมือนกับ
พ่อค้าคนที่โผล่ขึ้นครั้งเดียวแล้วก็จมลงไปในแม่น้ำ. พระโสดาบัน แลดูอยู่
ซึ่งทางอันตนพึงไป หรือทิศทางที่ควรจะไป เหมือนกับ พ่อค้าคนที่โผล่
ขึ้นจากน้ำแลดูซึ่งท่าเป็นที่ข้าม. พระสกทาคามี ชื่อว่า กำลังข้ามไป เพราะ
ความที่ตนเป็นผู้มีกิเลสเบาบาง เปรียบเหมือนกับ พ่อค้าที่กำลังข้ามไป. พระ-
อนาคามี ชื่อว่า หยุดอยู่ เพราะความเป็นผู้ไม่กลับมาสู่กามโลกนี้ เหมือนกับ
พ่อค้าคนที่ข้ามไปแล้วยืนอยู่ที่น้ำแค่สะเอว. พระขีณาสพ ผู้เป็นพราหมณ์ ผู้
ก้าวล่วงโอฆะทั้ง 4 แล้ว ยืนอยู่บนบก คือ พระนิพพาน บัณฑิตพึงทราบว่า
เปรียบเหมือนพ่อค้าคนที่อาบน้ำชำระร่างกายให้สะอาดแล้วก็ข้ามขึ้นฝั่งโน้น แล้ว
ยืนอยู่บนบก. บัณฑิตพึงทราบว่า การที่พระขีณาสพท่านเข้าผลสมาบัติ ซึ่งมี
นิพพานเป็นอารมณ์แล้วให้กาลผ่านไปอยู่ เป็นเหมือนพ่อค้าคนที่ยืนอยู่บนบก
แล้วเข้าไปสู่พระนคร ก้าวขึ้นสู่ปราสาทอันประเสริฐ แล้วก็บริโภคอาหารอัน
อุดม. พระอริยบุคคลทั้งหลาย มีอุภโตภาควิมุตตบุคคลเป็นต้น ข้าพเจ้าชี้แจง
ไว้แล้วในหนหลังนั้นแล้ว แล.
อธิบายบุคคล 7 จำพวก จบเพียงเท่านี้

อัฏฐกนิทเทส


ว่าด้วยบุคคล 8 จำพวก


[150] บุคคลผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค 4 บุคคลผู้พร้อม
เพรียงด้วยผล 4 เป็นไฉน ?

1. บุคคลผู้เป็นพระโสดาบัน.
2. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งโสดาปัตติผล.
3. บุคคลผู้เป็นพระสกทาคามี.
4. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งสกทาคามิผล.
5. บุคคลผู้เป็นพระอนาคามี.
6. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อทำให้แจ้งซึ่งอนาคามิผล.
7. บุคคลผู้เป็นพระอรหันต์.
8. บุคคลผู้ปฏิบัติเพื่อเป็นพระอรหันต์.
บุคคลเหล่านี้ ชื่อว่า ผู้พร้อมเพรียงด้วยมรรค 4 ชื่อว่า ผู้
พร้อมเพรียงด้วยผล 4.

จบบุคคล 8 จำพวก1

1. ข้อ 150 - 151 ไม่มีอรรถกถาอธิบาย.